CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 73% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.
You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 73% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.
You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

การเทรด CFD คืออะไร

ทำความเข้าใจสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ซึ่งเป็นการเทรดอนุพันธ์ยอดนิยมรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถเก็งกำไรจากราคาที่ขึ้นหรือลงของตลาดและตราสารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

สัญญาซื้อขายส่วนต่างหรือ CFD

ข้อมูลของสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ที่เราจะพูดถึง ได้แก่ ประวัติ นิยาม และผลของการเทรด CFD โดยจะพิจารณาถึงประโยชน์ที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนแต่ละรายจะได้รับ

สำหรับเทรดเดอร์รายย่อยหรือผู้ที่ร่วมเทรดในตลาด โลกแห่งการเทรดและการลงทุนได้ขยายตัวในศตวรรษที่ 21 เพื่อนำเสนอโอกาสที่คาดไม่ถึงในปลายศตวรรษที่ 20 ความก้าวหน้าเหล่านี้เกิดขึ้นจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี ความเปิดกว้างของตลาดเงิน และประชากรที่มีความเข้าใจในการเทรดและการลงทุนที่ดีกว่าในอดีต รวมไปถึงการพัฒนาตลาด CFD

ประโยชน์ของการเทรด CFD

ประโยชน์หลักสามประการจากการเทรดโดยใช้ CFD:

  1. ความสามารถที่จะเปิดสถานะ Short และ Long
  2. ศักยภาพในการเทรดด้วยเลเวอเรจหรือมาร์จิ้น
  3. ความสามารถที่จะป้องกันความเสี่ยง

CFD คืออะไรและการเทรด CFD คืออะไร

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (ตัวย่อ CFD) เป็นผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ ซึ่งหมายความว่า CFD อ้างอิงราคาจากสินทรัพย์ในตลาดเงินหลัก ซึ่งอาจเป็นสกุลเงิน หุ้นรายตัว ดัชนีหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือตราสารหนี้ โดย CFD จะช่วยให้นักลงทุนหรือเทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรราคาสินทรัพย์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงตามจริง

CFD: ประวัติย่อ

CFD พัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ที่ลอนดอนโดยคิดค้นขึ้นเพื่อนักลงทุนสถาบันในช่วงแรก CFD มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้นักลงทุนและเฮดจ์ฟันด์เพิ่มโอกาสในตลาดของตนเอง (เราจะพูดถึงเรื่องเลเวอเรจทางด้านล่าง) และยังช่วยป้องกันความเสี่ยงให้สถานะ (เราจะพิจารณาเรื่องการป้องกันความเสี่ยงในภายหลังเช่นกัน)

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 โบรกเกอร์รายย่อยเริ่มใช้ CFD เพื่อให้เทรดเดอร์และนักลงทุนบุคคลเทรดและลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภท ซึ่งทำให้บุคคลสามารถเทรดสินทรัพย์และตลาดจำนวนมากสามารถเปิด “Short” สินทรัพย์เหล่านี้ได้ โดยที่ก่อนหน้านี้จะสามารถซื้อและเป็นเจ้าของสินทรัพย์ (เปิด “Long”) ได้เท่านั้น

นอกจากนี้ โบรกเกอร์รายย่อยได้ให้บริการการเทรดด้วยมาร์จิ้นแก่นักลงทุนรายย่อย ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพให้เงินต้นและเงินทุน

1. การเปิดสถานะ Short และ Long

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำความเข้าใจแนวคิดของมาร์จิ้นและเลเวอเรจก็คือ ดูตัวอย่าง ลองดูราคาทองคำและดูว่าเลเวอเรจทำงานอย่างไรเมื่อเทรดหรือลงทุนใน CFD หากคุณคิดว่าราคาทองคำกำลังจะขึ้น คุณอาจซื้อทองคำจริงหรือซื้อ CFD ทองคำ (โดยที่คุณไม่ต้องเป็นเจ้าของทองคำจริง)

2. เลเวอเรจ/มาร์จิ้น

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำความเข้าใจแนวคิดของหลักประกันและเลเวอเรจก็คือ ดูตัวอย่าง ลองดูราคาทองคำและดูว่าเลเวอเรจทำงานอย่างไรเมื่อเทรดหรือลงทุนใน CFD หากคุณคิดว่าราคาทองคำกำลังจะขึ้น คุณอาจซื้อทองคำจริงหรือซื้อ CFD ทองคำ (โดยที่คุณไม่ต้องเป็นเจ้าของทองคำ)

หากคุณมีเงิน $10,000 ในบัญชีการลงทุนที่ไม่มีเลเวอเรจและทองคำกำลังเทรดที่ $1,000/ออนซ์ คุณก็สามารถซื้อทองคำ 10 ออนซ์ ซึ่งต้องใช้เงินทั้งหมด $10,000 ในบัญชีคุณ แต่หากคุณใช้เงิน $10,000 เท่าเดิมซื้อ CFD ทองคำซึ่งเทรดด้วยมาร์จิ้น (มีเลเวอเรจ) คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินในบัญชีมากเช่นนั้นเพื่อซื้อทองคำที่เทียบเท่ากับ 10 ออนซ์

ตัวอย่างเช่น หากเลเวอเรจของคุณเป็น 5 เท่า หมายความว่าคุณจะต้องใช้เงินในบัญชีมูลค่าเพียง 20% เท่านั้น คุณจึงต้องการเงินเพียง $2,000 เพื่อซื้อทองคำ 1 ออนซ์ หากคุณมีเงินในบัญชี CFD จำนวน $10,000 คุณก็จะสามารถซื้อทองคำ 50 ออนซ์ในรูปแบบ CFD ได้ ดังนั้น เลเวอเรจของบัญชี CFD ก็คือ 5 เท่าของบัญชีการลงทุนที่ไม่มีเลเวอเรจนั่นเอง

แนวคิดของเลเวอเรจดังกล่าวหมายความว่าหากทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก $1,000/ออนซ์ไปเป็น $2,000/ออนซ์และคุณได้ลงทุนด้วยบัญชีการลงทุนที่ไม่มีเลเวอเรจ คุณจะได้กำไรจากบัญชีที่ไม่มีเลเวอเรจ 100% ของ $10,000

แต่สำหรับบัญชี CFD คุณจะสามารถซื้อทองคำได้ 5 เท่า ดังนั้นหากราคาทองคำขยับจาก $1,000/ออนซ์ไปเป็น $2,000/ออนซ์ คุณก็จะได้ผลตอบแทน 500% ซึ่งเท่ากับกำไร $50,000 นี่คือประโยชน์ของการเทรดด้วยเลเวอเรจหรือมาร์จิ้น

โปรดอย่าลืมว่าหากราคาทองคำร่วงลง 20% ไปที่ $800/ออนซ์ มูลค่าในบัญชีที่ไม่มีเลเวอเรจจะลดลงจาก $10,000 ไปเป็น $8,000 แต่หากเทรดเช่นเดียวกันนี้ในบัญชี CFD ที่มีเลเวอเรจ 5 เท่า เงินในบัญชีก็อาจจะหายไป 100% ซึ่งเท่ากับ $10,000 ดังนั้น การเทรด CFD ด้วยมาร์จิ้นโดยใช้เลเวอเรจจะเท่ากับผลตอบแทนที่อาจมากขึ้น แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากขึ้นเป็นอย่างมากเช่นกัน

3. การป้องกันความเสี่ยง

ประโยชน์อีกประการของการใช้ CFD สำหรับนักลงทุน (ซึ่งตรงข้ามกับเทรดเดอร์) ก็คือเรื่องการป้องกันความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนต้องการลดความเสี่ยงจากการที่ตลาดอาจเคลื่อนไหวในอนาคต ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยลดผลกระทบของความเสี่ยงในตลาดด้วยสถานะทิศทางตรงกันข้ามในตลาดเดียวกัน

ลองใช้ตัวอย่างว่าคุณมีพอร์ตการลงทุนที่มีหุ้นเยอรมันหลายตัว แต่คุณกังวลว่าหุ้นเหล่านี้หลายตัวหรือตลาดหุ้นทั่วโลกที่ใหญ่กว่ามีความเสี่ยงที่จะปรับฐานเป็นขาลงในระยะสั้น คุณจึงควรใช้ CFD เพื่อชดเชยอันตรายดังกล่าว คุณสามารถเลือกขาย CFD ดัชนีหุ้นเยอรมันซึ่งก็คือ DAX (GER 30 ของ Hantec Markets) หากตลาดที่ใหญ่กว่าปรับตัวลดลง จากนั้น การขาดทุนของพอร์ตการลงทุนหุ้นอาจได้รับการถ่วงดุลบางส่วนหรือทั้งหมดด้วยกำไรจากการ Short GER 30 CFD แต่หากหุ้นปรับตัวบวก ราคาของทั้งคู่ก็จะชดเชยกันอีกครั้ง ดังนั้น แม้คุณอาจเสียกำไรที่อาจได้จากหุ้นไป แต่ความเสี่ยงก็จะถูกจำกัดหรือป้องกันไว้

ตอนนี้ คุณก็เข้าใจ CFD ได้ดียิ่งขึ้นแล้ว อาจถึงเวลาที่จะเปิดบัญชีทดลองกับเรา

พร้อมเริ่มต้นเทรดหรือยัง

Line website

เริ่มต้นการเทรดตอนนี้

เปิดบัญชีใน 4 ขั้นตอนง่ายๆ