CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 73% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.
You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 73% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.
You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน

การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางและรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อสกุลเงินหรือคู่สกุลเงินเป็นอย่างมาก เราจะอธิบายว่านโยบายการเงินทำงานอย่างไร ใครเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุด และเหตุใดคุณจึงต้องแยกพวก Hawk ออกจาก Dove

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน

การทำความเข้าใจว่าตลาดคาดหวังให้ธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน (อัตราดอกเบี้ย) อย่างไรนั้นจำเป็นต่อการทำความเข้าใจว่าตลาดจะประเมินราคาสินทรัพย์ทางการเงินอย่างไร

  • “เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่”
  • “เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำมาตรการ QE เพิ่มขึ้น”
  • “พวกเขาจะดำเนินการเมื่อใด”
  • “อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นได้มากน้อยเพียงใด”

สิ่งที่คุณควรพิจารณา

คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์และนักลงทุนต้องพิจารณา ในวงการเทรด นโยบายการเงินอาจเป็นข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สำคัญที่สุด

ประเทศจะสามารถบริหารจัดการเศรษฐกิจของตนเองได้ด้วยสองวิธีหลัก ได้แก่:

  1. ผ่านนโยบายการคลัง (กล่าวคือการเก็บภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐ)
  2. ผ่านนโยบายการเงิน (กล่าวคือเมื่อธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย)

ถึงแม้นโยบายการคลังอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ตลาดจะให้ความสนใจอย่างจริงจัง

นโยบายการเงินคืออะไร

ตามธรรมเนียมแล้ว ธนาคารกลาง (เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือธนาคารกลางยุโรป) จะสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลงได้

หลังวิกฤตการเงินในปี 2008 อัตราดอกเบี้ยก็ถูกปรับลดลงไปเป็นศูนย์ (ZIRP – Zero Interest Rate Policy) ในวงกว้าง ส่งผลให้จำเป็นต้องอาศัยมาตรการด้านนโยบายการเงินที่ผิดปกติ ดังนั้น ธนาคารกลางจึงนำมาตรการ QE (QUANTITATIVE EASING) มาใช้ โดยใช้เงินที่ผลิตทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อตราสารหนี้ (มักเป็นหนี้สาธารณะ) ซึ่งเป็นนโยบายการเงินที่ออกแบบขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนและช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ

กรอบข้อความ: นโยบายการเงินแบบเข้มงวดกับแบบแบบผ่อนคลาย

โดยทั่วไปนั้น ธนาคารกลางมีสามทางเลือกเกี่ยวกับนโยบายการเงิน โดยสามารถเลือก:

  • ผ่อนคลาย – การปรับลด (หรือหั่น) อัตราดอกเบี้ย ในไม่กี่ปีมานี้ การดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายมีส่วนเกี่ยวข้องหรือช่วยเพิ่มมาตรการ QE ของสินทรัพย์ที่ซื้อ
  • เข้มงวด – การเพิ่ม (หรือภาษาเฉพาะ “ปรับขึ้น”) อัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจรวมถึงการลด QE ลงหรือ ‘มาตรการเข้มงวด’ ทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Tightening) นั่นเอง ธนาคารกลางจะขายคืนตราสารหนี้ที่เคยซื้อไว้ก่อนหน้านี้ตามโครงการ QE เนื่องจากพวกเขาพยายามลดงบดุลจำนวนมาก
  • ไม่เปลี่ยนแปลง – หรือที่เรียกว่า “ตรึง” โดยธนาคารกลางจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจะมีผลกระทบอย่างยิ่งสำหรับสิ่งต่อไปนี้:

การไหลของเงินร้อน – ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เกิดเงินไหลเข้า (เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น) หรือเงินไหลออก (เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ) ในสกุลเงินของประเทศ เพราะเทรดเดอร์นานาชาติกำลังต้องการได้ประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสองประเทศ ปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อค่าเงินของประเทศเนื่องจากสกุลเงินมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น

ตลาดตราสารหนี้ – เนื่องจากตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ประเภทที่สร้ายรายได้คงที่ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจึงทำให้ความน่าสนใจของตราสารหนี้ภายในประเทศนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไป อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะผลักดันให้ตราสารหนี้มีอุปสงค์ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการถือครองเงินสดสูงกว่าการถือครองตราสารหนี้ หากคุณได้รับดอกเบี้ยมากกว่าจากการถือครองเงินสด ก็จะทำให้อุปสงค์ของเงินสดมากกว่าตราสารหนี้ ดังนั้นราคาตราสารหนี้จึงปรับตัวลดลง (หมายเหตุ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้สูงขึ้นเนื่องจากราคาตราสารหนี้กับผลตอบแทนจะเคลื่อนไหวผกผันกัน)

เหตุใดนโยบายการเงินจึงมีความสำคัญ

ธนาคารกลางจะพิจารณาข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจของประเทศเมื่อตัดสินใจว่าจะกำหนดนโยบายการเงินอย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางอย่างอาจสำคัญมากกว่าข้อมูลอื่นๆ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงานและการเติบโตของ GDP ล้วนมีผลต่อมุมมองทางเศรษฐกิจในภาพรวมและการคาดการณ์ที่ธนาคารมีต่อเศรษฐกิจ

หากเศรษฐกิจกำลังร้อนแรงขึ้น ข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจจะเริ่มดีขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายความว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานจะลดลง และอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มสูงขึ้น

Goldilocks และหมีสามตัวอาจเป็นการอุปมาที่ดีสำหรับความสมดุลที่ธนาคารกลางพยายามประคับประคองไปในสถานการณ์เหล่านี้ อธิบายย่อๆ ก็คือเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางไม่ต้องการให้เศรษฐกิจร้อนแรงหรือชะลอตัวเบาเกินไป แต่ต้องการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พวกเขาต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้นแต่ไม่ร้อนแรงเกินไป จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

สังเกตการณ์สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินที่สำคัญ

  • สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีผลกระทบต่อมุมมองตลาดด้านนโยบายการเงิน ตลาดจะติดตามการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการออกเสียง (โดยเฉพาะในคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC) ในแต่ละปีอย่างใกล้ชิด
  • การที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางกล่าวนอกกำหนดการประกาศตามปกติของธนาคารกลางอาจช่วยประเมินมุมมองปัจจุบันของสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินที่มีสิทธิ์ออกเสียงได้
  • นอกจากนี้ ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงความเห็น/จุดยืนส่วนตัว (โดยเฉพาะสมาชิกที่มีสิทธิ์ออกเสียง) ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงินในอนาคต

ข้อควรจำ: ผลกระทบจากนโยบายการเงิน

การปรับอัตราดอกเบี้ยจะกระทบต่อสินทรัพย์ทุกประเภท หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควร

  • ทำให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น
  • ทำให้ราคาตราสารหนี้ของประเทศปรับตัวลดลง จึงทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
  • อาจทำให้หุ้นในประเทศปรับตัวลดลง*

*หมายเหตุ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หุ้นมีแนวโน้ม

ที่จะปรับตัวดีขึ้นในสภาวะที่นโยบายการเงินผ่อนคลายลง แต่อาจต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติ (หลังจากที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากมาระยะหนึ่ง) ซึ่งยังอาจถือเป็นสัญญาณความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจที่บริษัทต่างดำเนินกิจการและเป็นสัญญาณถึงการคาดการณ์ที่ดีขึ้นในอนาคต

พร้อมเริ่มต้นเทรดหรือยัง

Line website

เริ่มต้นการเทรดตอนนี้

เปิดบัญชีใน 4 ขั้นตอนง่ายๆ