จิตวิทยาในการเทรด
การเทรดอาจทำให้อารมณ์คุณขึ้นๆ ลงๆ ให้เราช่วยคุณทำความเข้าใจว่าเหตุใดจิตวิทยาในการเทรดจึงสำคัญและวิธีที่จิตวิทยาในการเทรดจะสามารถกระทบต่อผลการเทรดในแง่บวกและแง่ลบ
จิตวิทยาเป็นปัจจัยสำคัญในการเทรดและการลงทุนในตลาดเงินเสมอ การศึกษาและการทำความเข้าใจแง่มุมนี้ในการเทรดได้ขยายตัวเป็นอย่างมากตั้งแต่ขึ้นศตวรรษใหม่ โดยใน 20 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีหนังสือและหลักสูตรจำนวนมากที่กล่าวถึงอารมณ์และจิตวิทยาเบื้องหลังพฤติกรรมการเทรด
หัวข้อที่สำคัญดังกล่าวกำหนดให้เทรดเดอร์มือใหม่ทำความเข้าใจว่าเหตุใดอารมณ์และจิตวิทยาจึงสำคัญ และวิธีที่อารมณ์และจิตวิทยาจะกระทบต่อผลการเทรดในแง่บวกและแง่ลบ
ลองมาศึกษา “อคติทางจิตวิทยา” เชิงลบที่อาจทำให้เทรดเดอร์ใหม่และผู้มีประสบการณ์ตกหลุมพราง รวมถึงพิจารณาวิธีหลีกเลี่ยงหลุมพรางเหล่านี้ นอกจากนี้ เราจะดูขั้นตอนในเชิงบวกที่เทรดเดอร์สามารถใช้สร้างสภาพแวดล้อมในการเทรดที่มีประโยชน์โดยมีเป้าหมายขั้นสุดท้ายคือการเพิ่มความสำเร็จและกำไรในระยะยาวขึ้น
การปฏิเสธสมมติฐานเรื่องประสิทธิภาพตลาด (EMH)
สมมติฐานเรื่องประสิทธิภาพตลาดเป็นทฤษฎีด้านเศรษฐกิจและการลงทุนที่พัฒนาขึ้นในปี 1965 โดย Eugene Fama นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกา EMH ระบุว่าราคาสินทรัพย์จะสะท้อนถึงข้อมูลทั้งหมดที่มีอย่างครบถ้วน จึงไม่สามารถเกิดส่วนเกินผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงได้
ความหมายโดยนัยก็คือ “การเอาชนะตลาด” อย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม EMH สันนิษฐานว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนจะดำเนินการอย่างมีเหตุผลและพิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่มีก่อนตัดสินใจ รวมถึงพวกเขาจะไม่มีอคติในการคาดการณ์ ซึ่งผิดทั้งคู่!
การเงินเชิงพฤติกรรม
ไม่ว่าคุณจะมีการตระหนักรู้ในตนเองมากเพียงใด แต่ทุกๆ คนจะพกเอาชุดอคติทางจิตวิทยามาเทรดด้วย EMH บอกเราว่าผู้คนควรปฏิบัติตัวอย่างไร ขณะที่การเงินเชิงพฤติกรรมจะบอกเราว่าผู้คนจะปฏิบัติตัวอย่างไรและเพราะเหตุใด โดยจะอธิบายว่าอารมณ์มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจของเราอย่างไร เหตุผลอาจเป็นเพราะสัญชาตญาณหมู่หรืออารมณ์ด้านที่มีอิทธิพลมากกว่าของมนุษย์ เช่น ความหวัง ความกลัว ความโลภ หรือความตื่นตกใจ
การเทรดทำให้คุณต้องดำเนินการโดยใช้กระบวนการทางจิตใจที่เจาะจง ได้แก่:
- ความคิด: การตัดสินใจว่าคุณต้องการทำสิ่งใดในตลาด การใช้ความรู้และการใช้แผนการเทรด
- การดำเนินการ: การดำเนินการจริงโดยเข้าทำการเทรด
- ปฏิกิริยา: ปฏิกิริยาที่มีจุดยืนซึ่งสามารถลดการตอบสนองทางอารมณ์
ดังนั้น ตลาดเงินจึงไม่ได้เคลื่อนไหวตามข่าว เหตุการณ์ และการวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยตรง แต่เป็นไปตามปฏิกิริยาที่เทรดเดอร์มีต่อเหตุการณ์เหล่านี้ อารมณ์สามารถสร้างและส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวของราคา และจากนั้น สัญชาตญาณหมู่ก็จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวอย่างผันผวนขึ้นไปอีก
อคติทางจิตวิทยา
สมองไม่ได้ทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์ โดยจะใช้ทางลัด ประสบการณ์ และตัวกรองทางอารมณ์เพื่อลดเวลาในการวิเคราะห์ เมื่อโฟกัสในทิศทางหนึ่ง อคติทางจิตวิทยาเหล่านี้อาจทำให้ข้อมูลอื่นๆ ที่อาจสำคัญมากกว่าพร่าเลือนลง
ขณะที่การรู้จักอคติทางจิตวิทยาที่มักเกิดขึ้นอาจไม่สามารถยับยั้งคุณจากการทำผิดพลาดได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นไปได้ที่จะระบุและตั้งชื่อให้อคติเหล่านี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกตัวถึงอคติเหล่านี้จากที่ไม่เคยรู้สึกตัวมาก่อน โดยจะสามารถค้นพบและจดชื่อได้อย่างถูกต้อง เมื่อผ่านไปช่วงหนึ่ง การทำเช่นนี้ควรช่วยให้มีอคติน้อยลงกว่าเดิม
- อารมณ์และอคติทางจิตวิทยาเชิงลบ
อคติจากการมือขึ้น: อคติเช่นนี้เป็นมุมมองที่ไม่มีเหตุผล โดยช่วงที่ได้กำไรหรือขาดทุนติดๆ กันจะเรียกว่ามือของคุณ ‘ขึ้น’ หรือ ‘ตก’ ทฤษฎีก็คือการที่เทรดเดอร์สามารถเทรดโดยทำกำไรได้หลายครั้งติดต่อกันจะทำให้พวกเขาเชื่อว่าการเทรดทั้งหมดจะสามารถทำกำไรได้เช่นกัน ซึ่งเป็นอคติที่อันตรายเพราะอาจทำให้มุมมองเกี่ยวกับโอกาสของคุณคลาดเคลื่อนไปได้ การได้กำไรติดๆ กันมักทำให้เกิดการขาดทุนอย่างหนักเนื่องจากความมั่นใจจนเกินไป
อคติจากการเทรดปัจจุบัน: อคติดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเทรดเดอร์โฟกัสที่การตัดสินใจเทรดในช่วงนี้รวมถึงผลลัพธ์ล่าสุดเท่านั้น ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์อาจไม่สนตรรกะและกลยุทธ์การเทรดที่แข็งแกร่งเนื่องจากพวกเขาใช้อารมณ์ในระยะสั้น ซึ่งทำให้มีโอกาสขาดทุนในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากต้องการเอาชนะอคติจากการเทรดปัจจุบัน คุณควรจัดการกับการเทรดทุกครั้งให้เหมือนเป็นความคิดใหม่และเตือนตัวเองถึงเป้าหมายในระยะยาวของคุณ
หากต้องการหลีกเลี่ยงอคติดังกล่าว คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการตัดสินใจในการเทรดและการลงทุนยังคงอ้างอิงจากข่าวปัจจัยพื้นฐานที่เชื่อถือได้ ในโลกการเงิน ไม่มีคำว่ายิ่งมากยิ่งปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสิ่งที่ใช้ทดแทนแผนและกลยุทธ์ในการเทรดที่ผ่านการทดสอบ ทดลองและมีความแข็งแกร่งได้ ซึ่งเป็นแผนและกลยุทธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและเป็นกลาง
ความเข็ดขยาด: คือสถานการณ์ที่เกิดการขาดทุนอย่างหนักหรือการขาดทุนที่ต่อเนื่อง ดังนั้น เทรดเดอร์จึงไม่สามารถทำตามแผนการเทรดของตนเองได้ ความกลัวที่จะขาดทุนอีกครั้งทำให้เทรดเดอร์มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงน้อยลง ซึ่งอาจได้แก่การปฏิเสธหรือการลังเลที่จะเทรดแม้สภาวะจะดูสดใส มีการจำกัดรวมถึงการลดขนาดสถานะในการเทรดและความเสี่ยง นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงการเทรดในระยะที่สั้นกว่าโดยมี Stop ที่น้อยลงหรือออกจากการเทรดก่อนกำหนด ทางออกที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ก็คือให้ยึดมั่นในแผนการเทรด คุณควรจะรู้สึกดีขึ้นทางจิตวิทยาหลังขาดทุน โดยคำนึงถึงการพักเทรดในช่วงสั้นๆ หรือปรับ (ไม่ใช่ยกเลิก) แผนหรือกลยุทธ์การเทรด
การมองว่ากำไรที่ได้ไม่ใช่เงินของตนเอง: เทรดเดอร์อาจทำกำไรในการเทรดได้มหาศาลโดยได้กำไรจากการเทรดติดๆ กัน เนื่องจากเทรดเดอร์ไม่ได้มองว่ากำไรเป็นของตนเองแต่เป็นของเจ้ามือ จึงทำให้มั่นใจเกินไปและเคร่งครัดกับแผนการเทรดน้อยลง ทำให้เทรดปริมาณมากขึ้นโดยเสี่ยงมากขึ้นหรือไม่ได้ประเมินความเสี่ยงให้ถูกต้องก่อนเทรด หากต้องการหลีกเลี่ยงอคติเช่นนี้ เทรดเดอร์ควรนำกำไรมารวมในบัญชีการเทรดของตนเองทันทีหรือฝากเงินและยึดติดกับกลยุทธ์การเทรดของตนเอง
- ขั้นตอนเชิงบวกเพื่อหลีกเลี่ยงอคติทางจิตวิทยาเชิงลบ
นี่คืออคติทางจิตวิทยาบางส่วนที่สามารถกระทบต่อกำไรที่อาจเกิดขึ้นของคุณในเชิงลบเมื่อวิเคราะห์การเทรดที่อาจเป็นไปได้ การเข้าเทรด หรือการบริหารจัดการและการออกจากการเทรด
อคติทางจิตวิทยาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับอารมณ์เชิงลบซึ่งมักได้รับการพูดถึงในตลาดว่า “ความกลัวและความโลภ” ความกลัวจะรวมถึงความตื่นตกใจ ความลังเล ความระมัดระวังจนเกินไปและการขาดความมั่นใจ ส่วนความโลภจะมีความลิงโลดมากเกินไป มั่นใจจนเกินไป ความอวดดีและการมีอีโก้ ซึ่งเป็นหลุมพรางทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นกับเทรดเดอร์
นี่คือวิธีต่างๆ ที่เทรดเดอร์สามารถใช้หลีกเลี่ยงอารมณ์และอคติทางจิตวิทยาเชิงลบเหล่านี้ได้
สร้างกลยุทธ์การเทรดที่แข็งแกร่ง: การมีกลยุทธ์ที่ผ่านการทดลองและทดสอบแล้วสำหรับการเทรดของคุณและยึดติดกับกลยุทธ์จะช่วยให้คุณต้านทานอคติทางจิตวิทยาได้ เทรดเดอร์ควรสละเวลาพิจารณาแนวทางในการเทรดที่ต่างกัน วิธีที่สามารถปรับใช้ และจากนั้นจึงนำไปใช้ในแผนการเทรดที่เป็นรูปเป็นร่าง
จากนั้น คุณจะสามารถทดสอบแผนของคุณโดยใช้บัญชีทดลองของโบรกเกอร์ ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นว่าข้อสันนิษฐานและการตัดสินใจของคุณให้ผลอย่างไรในสถานการณ์ของโลกแห่งความจริง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถปรับและพัฒนาแผนได้ นอกจากนี้ คุณจะได้สัมผัสกับผลกระทบทางอารมณ์และอคติทางจิตวิทยาบางอย่างก่อนนำกลยุทธ์ไปใช้จริง หมายเหตุ: การเทรดแบบทดลองของคุณควรพยายามยึดติดกับแผน
หยุดก่อน: รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ไม่ควรเทรด
หิว – อย่าเทรดเมื่อหิวเพราะมีข้อมูลบ่งชี้ว่าส่งผลเสียต่อการตัดสินใจ
โกรธ – อย่าเทรดด้วยความโกรธหรือเมื่อมีอารมณ์รุนแรงจากสถานการณ์อื่นๆ ที่กำลังกระทบคุณโดยตรง
เหงา – อย่าเทรดเมื่อรู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว
เหนื่อย – อย่าเทรดเมื่อรู้สึกอ่อนล้ามาก (หรือเมื่อใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮออล์) เพราะมีข้อมูลบ่งชี้ว่าส่งผลเสียต่อการตัดสินใจ
หากคุณกำลังรู้สึกว่าอารมณ์แปรปรวนหรือได้รับผลกระทบจากอคติทางจิตวิทยาเชิงลบ การดำเนินการที่ดีที่สุดก็คือการรอคอย อดทน และหยุดพัก เพราะตลาดจะยังไม่ไปไหนและรอให้คุณเทรดในวันต่อไป
ข้อมูลหลังการเทรด
สรุปจิตวิทยาในการเทรด
ขอแนะนำให้เทรดเดอร์มือใหม่เก็บรายงานหรือบันทึกข้อมูลเอาไว้ จดบันทึกว่าเหตุใดจึงเข้าเทรด ปัจจัยต่างๆ ที่พิจารณาเมื่อเข้าเทรด การบริหารจัดการความเสี่ยงในการเทรดที่คุณใช้ และเหตุผลที่ออกจากการเทรด
ต่อไปนี้จะเป็นการทบทวนข้อมูลหลังการเทรด:
- สิ่งใดที่สามารถทำให้ดีกว่านี้ได้
- มีรูปแบบในผลการเทรดที่อาจทำให้เกิดการปรับกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผลกำไรในระยะที่ยาวขึ้นหรือไม่
การเก็บรายงานและการทบทวนการเทรดหลังจากนั้นจะช่วยให้คุณสามารถเห็นอารมณ์เชิงลบหรืออคติทางจิตวิทยาที่อาจส่งผลเสียต่อกำไรของคุณได้
จุดประสงค์ทั้งหมดของการวิเคราะห์อคติทางจิตวิทยาคือการสร้างภาวะทางจิตวิทยาในการเทรดที่เป็นบวกมากขึ้น
ความอดทนคือข้อได้เปรียบในการเทรด เช่นที่ Warren Buffet ได้กล่าวไว้ว่า “การลงทุนที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยเวลา วินัยและความอดทน เรื่องบางเรื่องต้องใช้เวลาไม่ว่าจะมีพรสวรรค์หรือความพยายามมากเท่าใด เพราะคุณไม่สามารถมีเด็กทารกได้ในหนึ่งเดือนโดยการทำให้ผู้หญิงเก้าคนตั้งครรภ์”